วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฮาร์ดดิสก์มาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบันควรมีขนาดความจุและความเร็วรอบเท่าไร

รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ และมาตราฐานของการเชื่อมต่อ แบบต่าง ๆ
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยจะเป็นแผ่นดิสก์และหัวอ่านที่บอบบางมาก และไม่ค่อยจะทนต่อการกระทบ กระเทือนได้ ดังนั้น จึงควรที่จะระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เวลาจัดถือไม่ควรให้กระแทกหรือกระเทือน และระมัดระวังไม่ให้มือโดน อุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่บนแผงวงจร โดยปกติ ฮาร์ดดิสก์ มักจะบรรจุอยู่ในช่องที่เตรียมไว้เฉพาะภายในเครื่อง โดยจะมีการต่อสาย สัญญาณเข้ากับตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ และสายไฟเลี้ยงที่มาจากแหล่งจ่ายไฟด้วยเสมอ ในที่นี้ จะขอแนะนำให้รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ในเบื้องต้น พอเป็นพื้นฐานในการทำความรู้จักและเลือกซื้อมาใช้งานกัน
ชนิดของ ฮาร์ดดิสก์ แบ่งตามอินเตอร์เฟสที่ต่อใช้งาน
ปัจจุบันนี้ ฮาร์ดดิสก์ที่มีใช้งานทั่วไป จะมีระบบการต่อใช้งานแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) กับ SCSI (Small Computer System Interface) ซึ่งฮาร์ดดิสก์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานกันตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้าน มักจะเป็นการต่อแบบ EIDE ทั้งนั้น ส่วนระบบ SCSI จะมีความเร็วของการรับส่ง ข้อมูลที่เร็วกว่า แต่ราคาของฮาร์ดดิสก์จะแพงกว่ามาก จึงนิยมใช้กันในเครื่อง Server เท่านั้น
EIDE หรือ Enhance IDE เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่าน สายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของการต่อแบบนี้คือ AT Attachment หรือ ATA ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็นแบบย่อยอื่น ๆ เช่น ATA-2, ATAPI, EIDE, Fast ATA ตลอดจน ATA-33 และ ATA-66 ในปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากเป็นแบบ ATA-66 แล้วสายแพรสำหรับรับส่งสัญญาณ จะต้องเป็นสายแพรแบบที่รองรับการทำงานนั้นด้วย จะเป็นสายแพรที่มีสายข้างใน 80 เส้นแทนครับ ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด จะมีคอนเน็คเตอร์ให้ 2 ชุด ดังนั้น เราสามารถต่อฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่นซีดีรอมไดร์ฟ ได้สูงสุด 4 ตัวต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การ Format Hard Disk บ่อย ๆ จะมีผลเสียอย่างไรกับฮาร์ดดิสก์

การฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์บ่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะว่าจะทำให้โครงสร้างทางการยภาพของฮาร์ดดิสก์นั้นเสื่อม สำหรับข้อดีก็อยู่ที่ทำให้เราสามารถตรวจสอบ Bad Sector บนฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่งฟอร์เมต ซึ่งพิมพ์พารามิเตอร์ /C ส่วนการพิมพ์พารามิเตอร์ /U นั้นทำบ่อย ๆ ไม่ดี เพราะจะทำให้โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์นั้นพัง มีอายุการใช้งานที่สั้นลง หรือ เสื่อมสภาพเร็ว แต่การใช้พารามิเตอร์นี้มักจะใช้แล้วเกิดประโยชน์ตรงที่ฮาร์ดดิสก์ของเราเกิด Bad Sector ขึ้นแล้ว ซึ่งก็ควรจะใช้ร่วมกับพารามิเตอร์ /C แต่ถ้าหากว่าเราฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์ด้วยพารามิเตอร์ /Q นั้นก็จะไม่มีผลต่อโครงสร้างทางกายภาพของฮาร์ดดิสก์เท่าไหร่นัก เพราะว่าเป็นเพียงแค่การลบฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์อย่างรวดเร็ว และสำหรับการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใส่พารามิเตอร์ใด ๆ เลยนั้นถือว่าปลอดภัยต่อฮาร์ดดิสก์ค่อนข้างสูง สามารถฟอร์เมตบ่อย ๆ ได้ เพราะการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์โดยไม่มีการใส่พารามิเตอร์นั้นก็ถือว่าไม่ได้เป็นการทำลายโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์แต่อย่างใด สำหรับการแก้ไขปัญหาโดยการฟอร์เมตจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นหนทางการแก้ไขที่ถูกต้องนัก ผู้วชาญทางคอมพิวเตอร์แนะนำว่าให้ทำวิธีการนี้เป็นวิธีการสุดท้าย ใช้ในยามที่จำเป็น หรือหากว่า แก้ไขด้วยทางอื่นไม่ได้แล้ว เท่านั้น

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ควรทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร

ปั ญ ห า ข อ ง H a r d d i s k
1.Harddisk เต็ม
หานี้คงต้องตรวจสอบก่อนว่า ที่ harddisk เต็มนั้นมาจากการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ หรือสืบเนื่องมาจากการใช้งานปกติ ถ้าเป็นที่การติดตั้งโปรแกรมมากๆ คงต้องมีการยกเลิกการติดตั้ง (Uninstall) ที่ไม่ได้ใช้ออกไปบ้าง แต่ถ้ามาจากการใช้งานปกติ ให้ตรวจสอบว่า เคยทำ Disk Cleanup แล้วหรือยัง ถ้ายัง ให้คลิกเข้าไปที่ Start -> Programs -> Accessories -> System Tools และคลิกเลือก Disk Cleanup (โปรแกรมนี้จะช่วยตรวจสอบไฟล์ที่เป็นขยะ ให้จัดการลบให้อัตโนมัติ)

2.Sector (หมายถึงบางส่วนของพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเสียหาย)
ผู้ชำนาญหลายท่านได้กล่าวว่า ปัญหา bad sector ของ harddisk แบ่งได้ 2 อย่างคือ bad จริง กับ bad ปลอม ซึ่งมีความหมายว่า bad จริง คือ มีรอยขีดข่วนที่พื้นผิว harddisk ซึ่งถ้าเป็นปัญหานี้ คงไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วน bad ปลอมนั้นเป็นปัญหาของโปรแกรมที่ตรวจสอบพบว่ามีปํญหาในการจัดเก็บ
การแก้ไข Bad ปลอม อาจเริ่มต้นการใช้โปรแกรม ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน โดยใช้โปรแกรม Scandisk ตรวจสอบ ถ้าพบ bad sector และต้องการแก้ไข คงต้องสำรองข้อมูล และลองทำ Fdisk กับ Format harddisk ดูใหม่ อย่างไรก็ตาม เราใช้โปรแกรม Utility ที่แก้ไข bad sector ได้ เช่น POWERMAX หรือ SPINRITE เป็นต้น

3.การทำงานที่ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด

ปัญหานี้ดูเป็นเรื่องปกติ ของผู้ใช้งาน Windows เนื่องจากการทำงานของ Windows จะมีการสุ่มการจัดเก็บข้อมูลลง harddisk ดังนั้น ถ้าการใช้งานของเรามีการสร้าง หรือลบไฟล์บ่อยๆ จะทำให้การสุ่มข้อมูลช้าลงได้ เนื่องจากพื้นที่ในการจัดเก็บไม่ได้เรียงต่อเนื่องกัน ดังนั้น วิธีการแก้ไขเบื้องต้นก็คือ การจัดเรียงข้อมูลในการจัดเก็บโปรแกรม+ข้อมูล ให้เป็นระเบียบ โดยเราสามารถใช้ utility ที่มาพร้อมกับ Windows ช่วยในการจัดเก็บได้ ซึ่งก็คือ Disk Defragment (คำแนะนำ ก่อนใช้โปรแกรมนี้ ควรรันโปรแกรม Disk Cleanup ก่อน จากนั้นให้รันโปรแกรม Scan Disk และท้ายสุดก็คือ Disk Defragment)

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ระบบบ BUS ของแรมคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร จงอธิบาย

ระบบบัส (BUS System) ระบบบัส คือเส้นทางที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียวกัน ทั้งภายในแผงวงจรหลัก และอุปกรณ์ที่อยู่บน Slot ของระบบบัสส่วนเชื่อมโยงต่างๆ ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยวงจรทางไฟฟ้า ที่เรียกว่าระบบบัสบัสที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์คือ ชุดของการเชื่อมต่อแบบขนานอย่างง่าย ซึ่งมีอยู่บนแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนการควบคุมต่างๆ เช่น CPU Chip Peripheral ต่างๆ และระบบของหน่วยความจำ เมื่อใดก็ตามที่มีการส่ง หรืออ่านข้อมูลจากหน่วยความจำหรือ พอร์ท อินพุทเอ้าท์พุทต่างๆ ตำแหน่งที่อยู่ของหน่วยความจำ หรือพอร์ท จะถูกกำหนดโดยค่าของตัวเลข หรือหมายเลข แอดเดรส ที่ใช้บ่งชี้เป็นกรณีพิเศษ เมื่อมีการถ่ายโอนข้อมูล แอดเดรสจะถูกส่งผ่านตามส่วนของบัสที่เรียกว่า แอดเดรสบัส (Address Bus) เมื่อแอดเดรสได้ถูกกำหนดแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปยังส่วนของบัสที่แยกออกไปซึ่งเรียกว่า ดาต้าบัส (Data Bus) นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ใช้ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ในระบบ ซึ่งแยกออกมาเฉพาะเรียกว่าบัสควบคุม (Control Bus) การควบคุม การเขียน อ่านข้อมูล เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบการทำงานและประสิทธิภาพโดยรวมของแรมแบบ SD-RAM กับ DDR-RAM

SDRAM (Synchronous DRAM)ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP (Thin Samll Outline Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีรองบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา (168-pin) ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวตต์ ความเร็วบัสมีทั้ง 66 MHz, 100 MHz และ 133 MHz ทำให้ SDRAM เปลี่ยนแปลงวิธีการจำแนกรุ่นต่าง ๆ จากเดิมที่เคยระบุเป็นค่าตัวเลข Access Time ว่ากี่ ns ไปเป็นการบอกความเร็วบัสที่ใช้งานแทน คือ PC-66, PC-100 หรือ PC-133 ตามความเร็วของบัสนั่นเอง SDRAM ถูกเลิกใช้ไปเมื่อหมดยุคของ Pentium III
DDR SDRAM (Double Data Rate SDRAM)ตัวชิปจะให้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP ติดตังอยู่บนแผงโมดูล DIMM เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาดความขาวของแผงเท่ากับคือ 5.25 นิ้ว บนแผงโมดูลจะมีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา (184-pin) ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ มีความจุสูงสุด 1 GB ต่อแผง ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) ปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้วการจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้วยังถูกจำแนกออกตามค่าอัตราควาเร็วในการรับส่งข้อมูล (Band-Width) ที่มีหน่วยเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วย เช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 400 (ความเร็วสูงสุดในการส่งข้อมูล) เท่ากับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3.200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง นาอกจานี้ก็มีรุ่นอื่น ๆ เช่น PC2100 (DDR-266), PC2700 (DDR-333), PC3600 (DDR-450), PC400 (DDR-500), PC4200 (DDR-533) และ PC5600 (DDR-700) เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุดเสียหาย มีอาการอย่างไรบ้าง

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุดเสียหาย มีอาการอย่างไรบ้าง


เมนบอร์ด (Mainboard)เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิตPCB(PrintCircuitBoard)ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่างๆรวมทั้งซีพียู,หน่วยความจำหรือRAMและแคช(Cache)ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรมอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัวผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให ้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกันนอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต(Slot)ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบันยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการ ทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller),พอร์ตอนุกรม (Serial Port)พอร์ต ขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2,USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controllerสำหรับอุปกรณ์ อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น ส่วนอาการเสียที่มักจะเกิดบ่อยที่ผู้ใช้ควร

หลักการซื้อเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง

หลักการซื้อเมนบอร์ด
ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือก เมนบอร์ด คือข้อมูลรายละเอียด Specification ต่าง ๆ ขอสรุปแนวทางการเลือกคร่าว ๆ ดังนี้
1. ชนิดและความเร็วของ CPU ที่ใช้งาน เช่นแบบ Socket 7, Slot 1 หรือแบบอื่น ๆ สามารถรองรับ CPU ความเร็ว ต่ำสุด-สูงสุด ได้เท่าไร
2. ชนิดของ Power Supply ว่าสามารถใช้กับ Power Supply แบบ AT หรือ ATX หรือใช้ได้ทั้งคู่
3. จำนวนของ ISA, PCI และ AGP Slot สำหรับเสียบการ์ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ISA จะเป็นอุปกรณ์แบบเก่า ๆ หากท่านยังใช้งานอุปกรณ์แบบ ISA อยู่ก็ต้องมองหาเมนบอร์ดที่มี ISA Slot ไว้ด้วย ส่วน PCI Slot จะเป็นการ์ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานอยู่ และ AGP Slot ซึ่งใช้สำหรับการ์ดจอโดยเฉพาะ (AGP Slot จะมีเฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ และมีเพียงแค่อันเดียว) ก็ดูที่ความเร็วว่าเป็น AGP แบบ 1X, 2X หรือ 4X
4. ชนิดและจำนวนของช่องเสียบ RAM และขนาดของ RAM สูงสุดที่สามารถขยายได้ในอนาคต
5. การปรับแต่งค่าต่าง ๆ เป็นแบบ Jumper หรือแบบใช้ Software ปรับใน BIOS หากเป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ใน BIOS ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเคสชองเครื่องครับ
6. ความเร็วของ FSB และตัวคูณ ที่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Over Clock นะครับเพราะเมนบอร์ดบางรุ่นจะสามารถปรับความเร็วของ CPU ได้อย่างละเอียด บางรุ่นจะปรับได้แค่ค่าที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ต้องดูจุดประสงค์สำหรับการใช้งานด้วย หากไม่ได้คิดจะทำ Over Clock ก็คงจะไม่จำเป็นนัก
7. การต่อใช้งาน HDD ถ้ารองรับ Interface ของ HDD แบบ UDMA-66 ก็จะช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เร็วขึ้น
8. อุปกรณ์ Port ต่าง ๆ ที่มีแถมมาให้ด้วยเช่น USB Port หรือ Infrared Port
9. สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดเพื่อทำ Over Clock ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด รุ่นที่มีความสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วของแรม และความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ของ PCI หรือ AGP ที่ละเอียดขึ้นด้วยนะครับเช่นการใช้งานที่ FSB 133 MHz โดยที่ PCI และ AGP ยังทำงานในความเร็วมาตราฐานได้ด้วย
10. Chip Set ที่ใช้งานกับเมนบอร์ดนั้น ๆ ก็ลองมองดูสักหน่อยครับ ว่าเป็นของอะไร และจะมีปัญหากับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ เช่นที่เคยทราบมาว่า Chip Set ของ ALI จะมีปัญหากับการ์ดจอของ TNT เป็นต้น อันนี้ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องการไม่เข้ากันของอุปกรณ์บางอย่างให้ดีด้วยครับ รายละเอียดต่าง ๆ ผมขอแนะนำให้ลองหาข้อมูลตามเวปบอร์ดต่าง ๆ ที่มีคุยกันเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นะครับ เช่นที่ http://www.pantip.com เป็นต้น
11. เลือกยี่ห้อของเมนบอร์ดที่มีการ Support หรือการ Update Driver ใหม่ ๆ ได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนให้เมนบอร์ดสามารถใช้งานกับ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่อาจจะมีออกมาในอนาคตได้ด้วย

การทำงานของเมนบอร์ดมีการทำงานอย่างไร

การทำงานของเมนบอร์ด


เมนบอร์ดสามารถ ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้เป็นอย่างดีรวมถึงความสามารถในการทดสอบกับโปรแกรมเบนช์มาร์กต่างๆ ก็ยังทำคะแนนออกมาเป็นที่หน้าพอใจอีกด้วย โดยเฉพาะ SiSoft Sandra2004 และ SySMark2004 อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เมนบอร์ด MSI ดูโดดเด่น

นอกเหนือจากการทำงานนั้นก็คือการออกแบบเมนบอร์ดให้ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้อย่างง่ายดาย โดยการใช้สีที่บ่งบอกถึงความแตก ต่างและการทำงานของช่องสัญญาณแต่ละชนิดรวมถึงการมี Quick Guide ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานทราบถึงส่วนต่างๆ บนเมนบอร์ดได้เป็นอย่างดี เมนบอร์ด MSI PT 880 Neo FISR จึงเป็นอีกหนึ่ง เมนบอร์ดที่รองรับการทำงานของซีพียู Intel Pentium4 ที่ใช้แกนหลัก Northwood, Prescott และ Gallatin ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมการรวมเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีส่าสุดที่ช่วยเพิ่มขีด ความสามารถในการทำงานของเมนบอร์ดและฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย

เมนบอร์ดคืออะไร

เมนบอร์ดคืออะไร

นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้นเครื่องpcขึ้นมา ก็ปรากฏเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ที่สำคัญๆเข้ามาไว้ด้วยกัน เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้ก็มีชื่อเรียกว่า เมนบอร์ด(MainBoard)หรือมาเธอร์บอร์ด(Motherboard)หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะเรียกว่าแผงวงจรหลัก ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆภายในpcทั้งหมด เมนบอร์ดนี้จะมีลักษะณะเป็นแผ่นรูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ที่สุดในพีซีที่จะรวบรวมเอาชิปและไอซี(IC-Integrated circuit)รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่นๆเอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงแผ่นเดียว เครื่องพีซีทุเครื่องไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดเมนบอร์ด

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หน่วยความจำสำรอง










หน่วยความจำสำรอง


ส่วนความจำรอง (secondary memory) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก ส่วนความจำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที
ข่าวสารหรือข้อมูลที่จะเก็บไว้ในส่วนความจำนั้นเป็นรหัสแทนเลขฐานสอง (binary) คือ ๐ กับ ๑ ซึ่งต้องเก็บไว้เป็นกลุ่ม ๆ และมีแอดเดรสตามที่กำหนด
1.ฟลอปปีดิสก์ (floppy disks) นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสก์เกตต์ เป็นอุึปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก แผ่นดิสก์รุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีความจุ 1.44 MBแต่เดิมฟลอปปีดิสก์จะเรียกว่า ฟลอปปี (ploppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่นแต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิมจึงเรียกว่าฟลอปปี้เช่นเดิม
2. คอมแพคดิสก์ (compact disk หรือ CD) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันลักษณะหนึ่งที่สำคัญของ CD คือจะถูกอ่านด้วยเครื่องอ่าน CD (CD - Rom drive) ที่มีความเร็วที่แตกต่างกันออกไป ความเร็วในการอ่านซีดี จะเขียนอยู่ในรูปของตัวคูณ (x) เช่น เครื่องอ่านซีดี ขนาด 24x ,32x, 52x เป็นต้น ปัจจุบันซีดีแต่ละแผ่นสามารถจุข้อมูลได้ประมาณ 700 MB ซีดี สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ - CD - Rom (compact disk read - only memory) มีลักษณะคล้ายกับซีดีเพลง หรือ ซีดีที่ขายกันอยู่ทั่วไปคำว่า read - onlyหมายถึง อ่านได้เพียงอย่างเดียว ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขหรือลบข้อมูลในแผ่นซีดีได้ - CD - R (compact disk recorable ) เป็น ซีดีที่สามารถเขียน บันทึก หรือ write ข้อมูลได้ครั้งเดียว และสามารถอ่านข้อมูลได้หลายครั้งแต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่อยู่ใน CD - R ได้ - CD - RW (compact disk rewriteable หรือ erasable optical disk) ซีดีประเภทนี้คล้ายกับ CD - R ต่างกันที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ คือ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้หลายครั้ง
3. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางซ้อนกัน โดยอาจมีจำนวนแผ่น 3-11 แผ่น ซึ่งจะไม่เรียกว่าดิสก์ แต่จะเรียกว่าแพลตเตอร์ (Platter) แทน ซึ่งแต่ละแพลตเตอร์จะสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน เนื่องจากแพลตเตอร์ผลิตจากสารจำพวกโลหะหรือแก้วบางชนิด จึงไม่สามารถงอไปงอมาได้เหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์ ทำให้ต้องมีโลหะปิดไว้ทุกด้านเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน ฮาร์ดดิสก์จึงสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก แล้วแต่ความจุของแต่ละรุ่น เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 500 MB,20 GB, 40 GB เป็นต้น แต่ปัจจุบัน ฮาร์ดดิสก์ มีความจุถึง 80 GB นอกจากนี้ยังมีความรวดเร็วต่อการเรียกใช้งานสูง โดยปกติจะกำหนดให้ฮาร์ดดิสก์เป็นไดร์ฟ C:ข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ คือ เคลื่อนย้ายไปเครื่องอื่นลำบาก ชำรุดง่ายหากโดนกระทบกระเทือน และมีราคาแพง

ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์

ขนาดของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
Microcomputer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ซึ่งทำงานโดยระบบผู้ใช้คนเดียว ( Single-user System ) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. Personal Computers (PCs) เป็นคอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะกับงานประเภท Word Processing และ Spreadsheets
2. Workstations ( สถานีงาน ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาแพง นิยมนำไปใช้ในงาน
ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
2. 1 Minicomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุต่ำกว่าระบบเมนเฟรมมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานโดยใช้ระบบผู้ใช้หลายคน (Multi-user System) มักจะใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้งานกับบริษัทขนาดกลาง เช่น ระบบบัญชี หรืออาจนำไปใช้ร่วมกับระบบเมนเฟรมก็ได้
3. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำรองจาก Supercomputer มีความเร็วในการประมวลผลสูง ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร, สายการบิน, บริษัทประกันภัย, มหาวิทยาลัย เป็นต้น
4. Supercomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีการคำนวณมาก งานออกแบบบนเครื่องบิน งานวิจัยทางด้านนิวเคลียร์ ซึ่งเครื่องคอมชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้าแพงมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้แพร่หลายนัก
และ ถ้าแบ่งตามขนาดนั้นสามารถแบ่งแยกตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแป้นพิมพ์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป
แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer)เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก จอภาพใช้เป็นแบบแบนราบ ชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid crystal Display : LCD) มีน้ำหนักของเครื่อง เบาประมาณ 3-8 กิโลกรัม

ประวัติส่วนตัว นางสาว ประนอม พานคำ

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว ประนอม พานคำ
ชื่อเล่น หมวย

อายุ 16

ศึกษา วิทยาลัยการอาชีพสระบุรี

แผนก คอมพิวเตอร์ธุกิจ

ชั้น ปวช.2/1

ระบบคอมพิวเตอร์

ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์


ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล
1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ

หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.หน่วยความจำภายใน
- หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้

- หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
2. หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM

แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ

แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน


ขนาด 5.25 นิ้ว ขนาด 1.44 MB

หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์

8 Bit
1 Byte
1 Byte 1 ตัวอักษร
1 KB 1,024 Byte
1 MB 1,024 KB
1 GB 1,024 MB
1 TB 1,024 GB

หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์

ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ
1. ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
2. ขนาด 3.5 นิ้ว
ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป



Hard disk

Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )

ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี

คุณสมบัติดังนี้

เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้


CD - ROM

3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ

ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ
บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
จากประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้
การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์นั้น สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้