วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบการทำงานและประสิทธิภาพโดยรวมของแรมแบบ SD-RAM กับ DDR-RAM

SDRAM (Synchronous DRAM)ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP (Thin Samll Outline Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีรองบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา (168-pin) ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวตต์ ความเร็วบัสมีทั้ง 66 MHz, 100 MHz และ 133 MHz ทำให้ SDRAM เปลี่ยนแปลงวิธีการจำแนกรุ่นต่าง ๆ จากเดิมที่เคยระบุเป็นค่าตัวเลข Access Time ว่ากี่ ns ไปเป็นการบอกความเร็วบัสที่ใช้งานแทน คือ PC-66, PC-100 หรือ PC-133 ตามความเร็วของบัสนั่นเอง SDRAM ถูกเลิกใช้ไปเมื่อหมดยุคของ Pentium III
DDR SDRAM (Double Data Rate SDRAM)ตัวชิปจะให้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP ติดตังอยู่บนแผงโมดูล DIMM เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาดความขาวของแผงเท่ากับคือ 5.25 นิ้ว บนแผงโมดูลจะมีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา (184-pin) ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ มีความจุสูงสุด 1 GB ต่อแผง ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) ปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้วการจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้วยังถูกจำแนกออกตามค่าอัตราควาเร็วในการรับส่งข้อมูล (Band-Width) ที่มีหน่วยเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วย เช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 400 (ความเร็วสูงสุดในการส่งข้อมูล) เท่ากับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3.200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง นาอกจานี้ก็มีรุ่นอื่น ๆ เช่น PC2100 (DDR-266), PC2700 (DDR-333), PC3600 (DDR-450), PC400 (DDR-500), PC4200 (DDR-533) และ PC5600 (DDR-700) เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุดเสียหาย มีอาการอย่างไรบ้าง

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุดเสียหาย มีอาการอย่างไรบ้าง


เมนบอร์ด (Mainboard)เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิตPCB(PrintCircuitBoard)ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่างๆรวมทั้งซีพียู,หน่วยความจำหรือRAMและแคช(Cache)ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรมอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัวผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให ้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกันนอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต(Slot)ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบันยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการ ทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller),พอร์ตอนุกรม (Serial Port)พอร์ต ขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2,USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controllerสำหรับอุปกรณ์ อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น ส่วนอาการเสียที่มักจะเกิดบ่อยที่ผู้ใช้ควร

หลักการซื้อเมนบอร์ดมีอะไรบ้าง

หลักการซื้อเมนบอร์ด
ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือก เมนบอร์ด คือข้อมูลรายละเอียด Specification ต่าง ๆ ขอสรุปแนวทางการเลือกคร่าว ๆ ดังนี้
1. ชนิดและความเร็วของ CPU ที่ใช้งาน เช่นแบบ Socket 7, Slot 1 หรือแบบอื่น ๆ สามารถรองรับ CPU ความเร็ว ต่ำสุด-สูงสุด ได้เท่าไร
2. ชนิดของ Power Supply ว่าสามารถใช้กับ Power Supply แบบ AT หรือ ATX หรือใช้ได้ทั้งคู่
3. จำนวนของ ISA, PCI และ AGP Slot สำหรับเสียบการ์ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ISA จะเป็นอุปกรณ์แบบเก่า ๆ หากท่านยังใช้งานอุปกรณ์แบบ ISA อยู่ก็ต้องมองหาเมนบอร์ดที่มี ISA Slot ไว้ด้วย ส่วน PCI Slot จะเป็นการ์ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานอยู่ และ AGP Slot ซึ่งใช้สำหรับการ์ดจอโดยเฉพาะ (AGP Slot จะมีเฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ และมีเพียงแค่อันเดียว) ก็ดูที่ความเร็วว่าเป็น AGP แบบ 1X, 2X หรือ 4X
4. ชนิดและจำนวนของช่องเสียบ RAM และขนาดของ RAM สูงสุดที่สามารถขยายได้ในอนาคต
5. การปรับแต่งค่าต่าง ๆ เป็นแบบ Jumper หรือแบบใช้ Software ปรับใน BIOS หากเป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ใน BIOS ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเคสชองเครื่องครับ
6. ความเร็วของ FSB และตัวคูณ ที่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Over Clock นะครับเพราะเมนบอร์ดบางรุ่นจะสามารถปรับความเร็วของ CPU ได้อย่างละเอียด บางรุ่นจะปรับได้แค่ค่าที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ต้องดูจุดประสงค์สำหรับการใช้งานด้วย หากไม่ได้คิดจะทำ Over Clock ก็คงจะไม่จำเป็นนัก
7. การต่อใช้งาน HDD ถ้ารองรับ Interface ของ HDD แบบ UDMA-66 ก็จะช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เร็วขึ้น
8. อุปกรณ์ Port ต่าง ๆ ที่มีแถมมาให้ด้วยเช่น USB Port หรือ Infrared Port
9. สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดเพื่อทำ Over Clock ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด รุ่นที่มีความสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วของแรม และความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ของ PCI หรือ AGP ที่ละเอียดขึ้นด้วยนะครับเช่นการใช้งานที่ FSB 133 MHz โดยที่ PCI และ AGP ยังทำงานในความเร็วมาตราฐานได้ด้วย
10. Chip Set ที่ใช้งานกับเมนบอร์ดนั้น ๆ ก็ลองมองดูสักหน่อยครับ ว่าเป็นของอะไร และจะมีปัญหากับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ เช่นที่เคยทราบมาว่า Chip Set ของ ALI จะมีปัญหากับการ์ดจอของ TNT เป็นต้น อันนี้ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องการไม่เข้ากันของอุปกรณ์บางอย่างให้ดีด้วยครับ รายละเอียดต่าง ๆ ผมขอแนะนำให้ลองหาข้อมูลตามเวปบอร์ดต่าง ๆ ที่มีคุยกันเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นะครับ เช่นที่ http://www.pantip.com เป็นต้น
11. เลือกยี่ห้อของเมนบอร์ดที่มีการ Support หรือการ Update Driver ใหม่ ๆ ได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนให้เมนบอร์ดสามารถใช้งานกับ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่อาจจะมีออกมาในอนาคตได้ด้วย

การทำงานของเมนบอร์ดมีการทำงานอย่างไร

การทำงานของเมนบอร์ด


เมนบอร์ดสามารถ ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้เป็นอย่างดีรวมถึงความสามารถในการทดสอบกับโปรแกรมเบนช์มาร์กต่างๆ ก็ยังทำคะแนนออกมาเป็นที่หน้าพอใจอีกด้วย โดยเฉพาะ SiSoft Sandra2004 และ SySMark2004 อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เมนบอร์ด MSI ดูโดดเด่น

นอกเหนือจากการทำงานนั้นก็คือการออกแบบเมนบอร์ดให้ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้อย่างง่ายดาย โดยการใช้สีที่บ่งบอกถึงความแตก ต่างและการทำงานของช่องสัญญาณแต่ละชนิดรวมถึงการมี Quick Guide ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานทราบถึงส่วนต่างๆ บนเมนบอร์ดได้เป็นอย่างดี เมนบอร์ด MSI PT 880 Neo FISR จึงเป็นอีกหนึ่ง เมนบอร์ดที่รองรับการทำงานของซีพียู Intel Pentium4 ที่ใช้แกนหลัก Northwood, Prescott และ Gallatin ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมการรวมเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีส่าสุดที่ช่วยเพิ่มขีด ความสามารถในการทำงานของเมนบอร์ดและฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย

เมนบอร์ดคืออะไร

เมนบอร์ดคืออะไร

นับตั้งแต่ได้มีการคิดค้นเครื่องpcขึ้นมา ก็ปรากฏเจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ ที่รวบรวมเอาชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ที่สำคัญๆเข้ามาไว้ด้วยกัน เจ้าแผ่นวงจรไฟฟ้านี้ก็มีชื่อเรียกว่า เมนบอร์ด(MainBoard)หรือมาเธอร์บอร์ด(Motherboard)หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็จะเรียกว่าแผงวงจรหลัก ซึ่งเมนบอร์ดนี้เองที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆภายในpcทั้งหมด เมนบอร์ดนี้จะมีลักษะณะเป็นแผ่นรูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นใหญ่ที่สุดในพีซีที่จะรวบรวมเอาชิปและไอซี(IC-Integrated circuit)รวมทั้งการ์ดต่อพ่วงอื่นๆเอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงแผ่นเดียว เครื่องพีซีทุเครื่องไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดเมนบอร์ด