วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฮาร์ดดิสก์มาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบันควรมีขนาดความจุและความเร็วรอบเท่าไร

รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ และมาตราฐานของการเชื่อมต่อ แบบต่าง ๆ
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยจะเป็นแผ่นดิสก์และหัวอ่านที่บอบบางมาก และไม่ค่อยจะทนต่อการกระทบ กระเทือนได้ ดังนั้น จึงควรที่จะระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เวลาจัดถือไม่ควรให้กระแทกหรือกระเทือน และระมัดระวังไม่ให้มือโดน อุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่บนแผงวงจร โดยปกติ ฮาร์ดดิสก์ มักจะบรรจุอยู่ในช่องที่เตรียมไว้เฉพาะภายในเครื่อง โดยจะมีการต่อสาย สัญญาณเข้ากับตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ และสายไฟเลี้ยงที่มาจากแหล่งจ่ายไฟด้วยเสมอ ในที่นี้ จะขอแนะนำให้รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ในเบื้องต้น พอเป็นพื้นฐานในการทำความรู้จักและเลือกซื้อมาใช้งานกัน
ชนิดของ ฮาร์ดดิสก์ แบ่งตามอินเตอร์เฟสที่ต่อใช้งาน
ปัจจุบันนี้ ฮาร์ดดิสก์ที่มีใช้งานทั่วไป จะมีระบบการต่อใช้งานแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics) กับ SCSI (Small Computer System Interface) ซึ่งฮาร์ดดิสก์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานกันตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้าน มักจะเป็นการต่อแบบ EIDE ทั้งนั้น ส่วนระบบ SCSI จะมีความเร็วของการรับส่ง ข้อมูลที่เร็วกว่า แต่ราคาของฮาร์ดดิสก์จะแพงกว่ามาก จึงนิยมใช้กันในเครื่อง Server เท่านั้น
EIDE หรือ Enhance IDE เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่าน สายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของการต่อแบบนี้คือ AT Attachment หรือ ATA ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็นแบบย่อยอื่น ๆ เช่น ATA-2, ATAPI, EIDE, Fast ATA ตลอดจน ATA-33 และ ATA-66 ในปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากเป็นแบบ ATA-66 แล้วสายแพรสำหรับรับส่งสัญญาณ จะต้องเป็นสายแพรแบบที่รองรับการทำงานนั้นด้วย จะเป็นสายแพรที่มีสายข้างใน 80 เส้นแทนครับ ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด จะมีคอนเน็คเตอร์ให้ 2 ชุด ดังนั้น เราสามารถต่อฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่นซีดีรอมไดร์ฟ ได้สูงสุด 4 ตัวต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การ Format Hard Disk บ่อย ๆ จะมีผลเสียอย่างไรกับฮาร์ดดิสก์

การฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์บ่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะว่าจะทำให้โครงสร้างทางการยภาพของฮาร์ดดิสก์นั้นเสื่อม สำหรับข้อดีก็อยู่ที่ทำให้เราสามารถตรวจสอบ Bad Sector บนฮาร์ดดิสก์ โดยการใช้คำสั่งฟอร์เมต ซึ่งพิมพ์พารามิเตอร์ /C ส่วนการพิมพ์พารามิเตอร์ /U นั้นทำบ่อย ๆ ไม่ดี เพราะจะทำให้โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์นั้นพัง มีอายุการใช้งานที่สั้นลง หรือ เสื่อมสภาพเร็ว แต่การใช้พารามิเตอร์นี้มักจะใช้แล้วเกิดประโยชน์ตรงที่ฮาร์ดดิสก์ของเราเกิด Bad Sector ขึ้นแล้ว ซึ่งก็ควรจะใช้ร่วมกับพารามิเตอร์ /C แต่ถ้าหากว่าเราฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์ด้วยพารามิเตอร์ /Q นั้นก็จะไม่มีผลต่อโครงสร้างทางกายภาพของฮาร์ดดิสก์เท่าไหร่นัก เพราะว่าเป็นเพียงแค่การลบฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์อย่างรวดเร็ว และสำหรับการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใส่พารามิเตอร์ใด ๆ เลยนั้นถือว่าปลอดภัยต่อฮาร์ดดิสก์ค่อนข้างสูง สามารถฟอร์เมตบ่อย ๆ ได้ เพราะการฟอร์เมตฮาร์ดดิสก์โดยไม่มีการใส่พารามิเตอร์นั้นก็ถือว่าไม่ได้เป็นการทำลายโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์แต่อย่างใด สำหรับการแก้ไขปัญหาโดยการฟอร์เมตจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นหนทางการแก้ไขที่ถูกต้องนัก ผู้วชาญทางคอมพิวเตอร์แนะนำว่าให้ทำวิธีการนี้เป็นวิธีการสุดท้าย ใช้ในยามที่จำเป็น หรือหากว่า แก้ไขด้วยทางอื่นไม่ได้แล้ว เท่านั้น

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ควรทำอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร

ปั ญ ห า ข อ ง H a r d d i s k
1.Harddisk เต็ม
หานี้คงต้องตรวจสอบก่อนว่า ที่ harddisk เต็มนั้นมาจากการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ หรือสืบเนื่องมาจากการใช้งานปกติ ถ้าเป็นที่การติดตั้งโปรแกรมมากๆ คงต้องมีการยกเลิกการติดตั้ง (Uninstall) ที่ไม่ได้ใช้ออกไปบ้าง แต่ถ้ามาจากการใช้งานปกติ ให้ตรวจสอบว่า เคยทำ Disk Cleanup แล้วหรือยัง ถ้ายัง ให้คลิกเข้าไปที่ Start -> Programs -> Accessories -> System Tools และคลิกเลือก Disk Cleanup (โปรแกรมนี้จะช่วยตรวจสอบไฟล์ที่เป็นขยะ ให้จัดการลบให้อัตโนมัติ)

2.Sector (หมายถึงบางส่วนของพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเสียหาย)
ผู้ชำนาญหลายท่านได้กล่าวว่า ปัญหา bad sector ของ harddisk แบ่งได้ 2 อย่างคือ bad จริง กับ bad ปลอม ซึ่งมีความหมายว่า bad จริง คือ มีรอยขีดข่วนที่พื้นผิว harddisk ซึ่งถ้าเป็นปัญหานี้ คงไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วน bad ปลอมนั้นเป็นปัญหาของโปรแกรมที่ตรวจสอบพบว่ามีปํญหาในการจัดเก็บ
การแก้ไข Bad ปลอม อาจเริ่มต้นการใช้โปรแกรม ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อน โดยใช้โปรแกรม Scandisk ตรวจสอบ ถ้าพบ bad sector และต้องการแก้ไข คงต้องสำรองข้อมูล และลองทำ Fdisk กับ Format harddisk ดูใหม่ อย่างไรก็ตาม เราใช้โปรแกรม Utility ที่แก้ไข bad sector ได้ เช่น POWERMAX หรือ SPINRITE เป็นต้น

3.การทำงานที่ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด

ปัญหานี้ดูเป็นเรื่องปกติ ของผู้ใช้งาน Windows เนื่องจากการทำงานของ Windows จะมีการสุ่มการจัดเก็บข้อมูลลง harddisk ดังนั้น ถ้าการใช้งานของเรามีการสร้าง หรือลบไฟล์บ่อยๆ จะทำให้การสุ่มข้อมูลช้าลงได้ เนื่องจากพื้นที่ในการจัดเก็บไม่ได้เรียงต่อเนื่องกัน ดังนั้น วิธีการแก้ไขเบื้องต้นก็คือ การจัดเรียงข้อมูลในการจัดเก็บโปรแกรม+ข้อมูล ให้เป็นระเบียบ โดยเราสามารถใช้ utility ที่มาพร้อมกับ Windows ช่วยในการจัดเก็บได้ ซึ่งก็คือ Disk Defragment (คำแนะนำ ก่อนใช้โปรแกรมนี้ ควรรันโปรแกรม Disk Cleanup ก่อน จากนั้นให้รันโปรแกรม Scan Disk และท้ายสุดก็คือ Disk Defragment)

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ระบบบ BUS ของแรมคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร จงอธิบาย

ระบบบัส (BUS System) ระบบบัส คือเส้นทางที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียวกัน ทั้งภายในแผงวงจรหลัก และอุปกรณ์ที่อยู่บน Slot ของระบบบัสส่วนเชื่อมโยงต่างๆ ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยวงจรทางไฟฟ้า ที่เรียกว่าระบบบัสบัสที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์คือ ชุดของการเชื่อมต่อแบบขนานอย่างง่าย ซึ่งมีอยู่บนแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนการควบคุมต่างๆ เช่น CPU Chip Peripheral ต่างๆ และระบบของหน่วยความจำ เมื่อใดก็ตามที่มีการส่ง หรืออ่านข้อมูลจากหน่วยความจำหรือ พอร์ท อินพุทเอ้าท์พุทต่างๆ ตำแหน่งที่อยู่ของหน่วยความจำ หรือพอร์ท จะถูกกำหนดโดยค่าของตัวเลข หรือหมายเลข แอดเดรส ที่ใช้บ่งชี้เป็นกรณีพิเศษ เมื่อมีการถ่ายโอนข้อมูล แอดเดรสจะถูกส่งผ่านตามส่วนของบัสที่เรียกว่า แอดเดรสบัส (Address Bus) เมื่อแอดเดรสได้ถูกกำหนดแล้ว ข้อมูลจะถูกส่งไปยังส่วนของบัสที่แยกออกไปซึ่งเรียกว่า ดาต้าบัส (Data Bus) นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ใช้ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ในระบบ ซึ่งแยกออกมาเฉพาะเรียกว่าบัสควบคุม (Control Bus) การควบคุม การเขียน อ่านข้อมูล เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบการทำงานและประสิทธิภาพโดยรวมของแรมแบบ SD-RAM กับ DDR-RAM

SDRAM (Synchronous DRAM)ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP (Thin Samll Outline Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีรองบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา (168-pin) ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวตต์ ความเร็วบัสมีทั้ง 66 MHz, 100 MHz และ 133 MHz ทำให้ SDRAM เปลี่ยนแปลงวิธีการจำแนกรุ่นต่าง ๆ จากเดิมที่เคยระบุเป็นค่าตัวเลข Access Time ว่ากี่ ns ไปเป็นการบอกความเร็วบัสที่ใช้งานแทน คือ PC-66, PC-100 หรือ PC-133 ตามความเร็วของบัสนั่นเอง SDRAM ถูกเลิกใช้ไปเมื่อหมดยุคของ Pentium III
DDR SDRAM (Double Data Rate SDRAM)ตัวชิปจะให้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP ติดตังอยู่บนแผงโมดูล DIMM เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาดความขาวของแผงเท่ากับคือ 5.25 นิ้ว บนแผงโมดูลจะมีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา (184-pin) ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ มีความจุสูงสุด 1 GB ต่อแผง ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) ปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้วการจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้วยังถูกจำแนกออกตามค่าอัตราควาเร็วในการรับส่งข้อมูล (Band-Width) ที่มีหน่วยเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วย เช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 400 (ความเร็วสูงสุดในการส่งข้อมูล) เท่ากับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3.200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง นาอกจานี้ก็มีรุ่นอื่น ๆ เช่น PC2100 (DDR-266), PC2700 (DDR-333), PC3600 (DDR-450), PC400 (DDR-500), PC4200 (DDR-533) และ PC5600 (DDR-700) เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุดเสียหาย มีอาการอย่างไรบ้าง

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุดเสียหาย มีอาการอย่างไรบ้าง


เมนบอร์ด (Mainboard)เป็นแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแผ่นเซอร์กิตPCB(PrintCircuitBoard)ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคต่างๆรวมทั้งซีพียู,หน่วยความจำหรือRAMและแคช(Cache)ซึ่งหน่วยความจำความเร็วสูงสำหรับพักข้อมูลระหว่างซีพียูและแรมอุปกรณ์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดได้แก่ชิปเซ็ต (Chipset) ภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กจำนวนหลายล้านตัวผลิตด้วยเทคโนโลยีการทำงานระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให ้เมนบอร์ดแต่ละยีห้อและแต่ละรุ่นมีคุณสมบัติต่างกันนอกจากนี้บนเมนบอร์ดยังมีช่องสำหรับเสียบการ์ดเพิ่มเติมที่เรียกว่า สล็อต(Slot)ซึ่งการ์ดจอ, การ์ดเสียง ฯลฯ ต่างก็เสียบอยู่บนสล็อต นอกจากนี้เมนบอร์ดในปัจจุบันยังได้รวมเอาส่วนควบคุมการ ทำงานต่าง ๆ ไว้บนตัวเมนบอร์ดอีกด้วย ได้แก่ ส่วนควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller),พอร์ตอนุกรม (Serial Port)พอร์ต ขนานหรือพอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port), พอร์ต PS/2,USB(Universal Serial Bus) รวมทั้ง Keyboard Controllerสำหรับอุปกรณ์ อื่นที่มีมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดเมนบอร์ดได้แก่ ROM BIOS และ Real-Time Clock เป็นต้น ส่วนอาการเสียที่มักจะเกิดบ่อยที่ผู้ใช้ควร