วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบการทำงานและประสิทธิภาพโดยรวมของแรมแบบ SD-RAM กับ DDR-RAM

SDRAM (Synchronous DRAM)ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP (Thin Samll Outline Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีรองบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา (168-pin) ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวตต์ ความเร็วบัสมีทั้ง 66 MHz, 100 MHz และ 133 MHz ทำให้ SDRAM เปลี่ยนแปลงวิธีการจำแนกรุ่นต่าง ๆ จากเดิมที่เคยระบุเป็นค่าตัวเลข Access Time ว่ากี่ ns ไปเป็นการบอกความเร็วบัสที่ใช้งานแทน คือ PC-66, PC-100 หรือ PC-133 ตามความเร็วของบัสนั่นเอง SDRAM ถูกเลิกใช้ไปเมื่อหมดยุคของ Pentium III
DDR SDRAM (Double Data Rate SDRAM)ตัวชิปจะให้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP ติดตังอยู่บนแผงโมดูล DIMM เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาดความขาวของแผงเท่ากับคือ 5.25 นิ้ว บนแผงโมดูลจะมีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา (184-pin) ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ มีความจุสูงสุด 1 GB ต่อแผง ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) ปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้วการจำแนกรุ่นของ DDR SDRAM นอกจากจะจำแนกออกตามความเร็วบัสที่ใช้งาน เช่น DDR-400 (400 MHz effective) ซึ่งคิดจาก 200 MHz (ความถี่สัญญาณนาฬิกา) x 2 (จำนวนครั้งที่ใช้รับส่งข้อมูลในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา) แล้วยังถูกจำแนกออกตามค่าอัตราควาเร็วในการรับส่งข้อมูล (Band-Width) ที่มีหน่วยเป็นเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s) ด้วย เช่น PC3200 ซึ่งคิดจาก 8 (ความกว้างบัสขนาด 8 ไบต์ หรือ 64 บิต) x 400 (ความเร็วสูงสุดในการส่งข้อมูล) เท่ากับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 3.200 MB/s โดยประมาณนั่นเอง นาอกจานี้ก็มีรุ่นอื่น ๆ เช่น PC2100 (DDR-266), PC2700 (DDR-333), PC3600 (DDR-450), PC400 (DDR-500), PC4200 (DDR-533) และ PC5600 (DDR-700) เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น